ช่วงประมาณเมษายน 2559
ปกติที่โบสถ์ร่มเย็น จะมีการอธิษฐานตอนเช้า ประมาณ 6-7 โมง ทุกๆเสาร์อาทิตย์
ปกติเรามักจะไปร่วมอธิษฐานวันอาทิตย์
แต่วันนั้นเป็นวันเสาร์ น่าจะเป็นช่วงเช้ามืด ใกล้ตื่น
เราฝันซึ่งเหมือนจริงมาก ในฝัน เราไปเข้าค่ายกับภรรยา ในค่ายที่จัดโดยที่โบสถ์นั้น มีกิจกรรมเข้าฐาน ออกแนว Adventure หน่อยๆ มีประมาณ สามฐานไล่จากซ้ายมาขวา จะเข้าฐาน ต้องเข้าไปด้านในตัวอาคารซึ่งจะก่อสร้างเป็นสามหลังแยกตามฐาน
เราเข้าไปฐานที่สองและออกมาแล้ว กำลังดูภรรยากับกลุ่มคนเข้าไปที่ฐานที่สามตรงขวามือของเรา
หลังจากเข้าไปไม่นาน ก็พบว่าอาคารที่เป็นฐานที่สามเกิดถล่มออกมาข้างหน้า เราก็รีบวิ่งเข้าไปก็เห็นคนวิ่งหนีตาย เห็นภรรยาเราด้วย เราวิ่งไปอุ้มออกมาได้ แต่ดูเหมือนตอนนั้นภรรยาไม่ได้สติแล้ว เราก็รีบวางมืออธิษฐานทูลขอต่อพระเจ้า ไม่รู้ว่านานแค่ไหน แต่ภรรยาก็ฟื้นคืนสติขึ้นมา เราดีใจมาก ระหว่างนั้นก็ได้ยินเสียงพระเจ้าตรัสในใจว่า เราได้ช่วยภรรยาของเจ้าแล้ว ต่อไปเจ้าต้องไปช่วยคนอื่นด้วย
แล้วจากนั้นก็สะดุ้งตื่นขึ้น
ระหว่างที่กำลังงงๆ กับเหตุการณ์ ก็คิดถึงคำพูดของพระเจ้าในฝันว่า "ให้ไปใช่วยคนอื่น" นี่หมายความว่าอย่างไร ดูนาฬิกาก็หกโมงนิดๆ ก็คิดเชื่อมโยงไปกับการอธิษฐานตอนเช้าที่โบสถ์ คิดไปว่า "เอ..หรือเราจะต้องไปช่วยอธิษฐานที่โบสถ์" สุดท้ายก็ตัดสินใจเปลี่ยนเสื้อผ้า ย่องออกจากห้องไม่ให้ลูกตื่น และขับรถไปที่โบสถ์
ไปถึงที่โบสถ์ก็ประมาณเกือบหกโมงครึ่ง ก็เห็นแค่ผู้นำนมัสการไม่เห็นคนอื่น เราก็ร้องเพลงนมัสการพระเจ้า อธิษฐานของเราไป จนประมาณเกือบเจ็ดโมงซึ่งก็ใกล้จะเลิก ก็มีเสียงจากฝั่งขวา (จุดที่เรามองไม่เห็น เพราะห้องเป็นรูปตัว L เรากับเสียงที่ได้ยินมาจากคนละปีก เสียงนั้นบอกว่า อยากให้พวกเราที่อยู่ในห้องช่วยอธิษฐานเผื่อน้องสาวของเค้าที่ตอนนี้อยู่ ICU ท้องได้หกเดือนแต่ดูเหมือนมีภาวะแท้งคุกคามโอกาสแท้งก็มีเยอะ หมอบอกให้น้องเค้าทำใจไว้ แต่เนื่องจากทุกคนก็ดูจะตั้งความหวังกับการจะมีหลานสาวเป็นคนแรก (ก่อนนี้มีแต่ผู้ชาย) ก็เลยยังทำใจยาก ตัวน้องสาวเค้าก็ไม่ได้เป็นคริสเตียน แต่เป็นอิสลาม แต่ตัวพี่เค้าก็เชื่อนะว่าพระเจ้าจะทรงฟัง เรากับพี่อีกคนหนึ่งรวมกับผู้นำนมัสการก็ไปวางมืออธิษฐานให้เค้า ก็เล่าเรื่องของเราที่เราฝันเมื่อเช้า แล้วก็หนุนใจเค้าว่า พระเจ้าทรงฟังแน่ๆ เพราะพระคัมภีร์ก็แสดงให้เห็นถึงหลายๆตัวอย่างที่มีคนมาเข้าเฝ้าพระเยซูเพื่อทูลขอให้ช่วยคนที่เค้ารู้จัก เช่น นายร้อยมาขอร้องให้รักษาทาส พวกเราจึงวางมือผ่านผู้เชื่อคือพี่คนนี้ให้การรักษาไปสู่น้องสาวและหลานในท้องของเค้า
ขณะอธิษฐานเราก็รู้สึกมั่นใจลึกๆ ว่าพระเจ้าทรงสดับฟังพวกเราจริๆ พระองค์จะตอบแน่นอน เราก็มีสันติสุข พี่เค้าก็มีสันติสุข เราก็ขับรถกลับบ้าน
ต่อมาช่วงเดือนพฤษภาคม มาเจอพี่เค้าหลังเลิกโบสถ์วันอาทิตย์ นึกได้ก็เลยถามพี่เค้าว่าน้องสาวเป็นไงบ้าง พี่เค้าก็ตอบด้วยใบหน้าเปื้อนรอยยิ้ม ว่า "หมอให้กลับบ้านได้แล้ว แข็งแรงทั้งแม่ทั้งลูก ตอนนี้รอคลอดตามปกติ" พวกเราก็ขอบคุณสรรเสริญพระเจ้ากัน
โอ้ สรรเสริญพระองค์ที่ให้ต้นได้มีประสบการณ์ในการอัศจรรย์ของพระองค์อีกครั้ง
พระองค์ยังคนเป็นเหมือนเดิม วานนี้ วันนี้ และสืบสืบไปเป็นนิตย์ ดังที่สัญญาไว้ในพระคัมภีร์จริงๆ
นาวี อ. (บันทึกเมื่อวันที่ 25 May 2016)
วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
วันอังคารที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2559
กฏกติกาการเล่น เลี๊ยบตุ่ย
กติกาการเล่น “เลี๊ยบตุ่ย” ฉบับสมบูรณ์
เรียบเรียง โดย นาวี อ. (บุรุษผู้เคยได้ F เพราะเล่นเลี๊ยบตุ่ยมากเกินไป
แต่เอาจริงๆ
เลี๊ยบตุ่ยไม่ผิดนะ
ผิดที่ผมแบ่งเวลาไม่ดีเองอ่ะ YoY)
คำนำ
จุดประสงค์ของเอกสารนี้ มีเพียงอย่างเดียวคือพยายามธำรงไว้ซึ่ง
เลี๊ยบตุ่ย ให้คงอยู่กับคนไทยไปตราบนานเท่านาน (มันสนุกและได้สาระในเวลาเดียวกันนะผมรับประกัน
ผมเล่นกับผองเพื่อนสมัยเรียนอยู่ที่วิศวะฯ (สถาบันสีชมพูแถวสยามสแควร์)
มันน่าจะเรียกได้ว่าเป็นเกมแห่งสถิติ การสังเกต จิตวิทยาและการตัดสินใจ เลยทีเดียว
จำนวนคนเล่น เล่นได้ตั้งแต่ 2-4 คน
สำหรับการเล่น 1 คน จริงๆก็เล่นได้
แต่ผมไม่แนะนำ มันเศร้าเกิ๊น ไปหาเพื่อนเล่นเหอะครับ
หรือไม่ก็ไปเล่นเกมส์อื่นดีกว่า
อุปกรณ์
ตัวหมากรุกจีน (จะเป็นพลาสติก หรือไม้ หรือวัสดุอื่นๆก็ได้)
ซึ่งหาซื้อได้ทั่วไป ด้านหนึ่งจะมีการจารึกอักษรจีน ซึ่งบอกถึงฐานันดร หรือ
ศักดิ์ของหมากไว้ (จำไม่ยากหรอกครับ ใครจำไม่ได้ แนะนำให้ print ภาพประกอบด้านล่างไปเก็บไว้
แต่จริงๆใครที่ซื้อหมากรุกจีน version ฝาพลาสติกใสๆ
น่าจะมีแถมกระดาษที่เป็นกระดานหมากรุกจีน
ซึ่งด้านหลังจะมีการระบุชื่อเรียกของแต่ละตัวเอาไว้อยู่แล้วครับ)
**ผมเอาภาพข้างบนมาจาก Dek-D.com ขอบคุณครับ
จำนวนเม็ดหมากมีทั้งสิ้น 32 ตัว เป็นสีแดง
16 และสีดำ 16 ตัว
สำหรับทั้งสองสี จะมีฐานันดร 7 ศักดิ์ด้วยกัน
คือ ตี่ เรือบิน ช้าง เรือ ม้า เผ่า จุก
ตี่ หรือ กษัตริย์ จะมีแค่ตัวเดียว
เรือบิน ซึ่งเปรียบได้กับองค์รักษ์ จะมีสองตัว
ช้าง ซึ่งเปรียบได้กับอำมาตย์ จะมีสองตัว
เรือ จะมีสองตัว
ม้า จะมีสองตัว
เผ่า หรือก็คือปืนใหญ่จะมีสองตัว
จุก หรือ ทหารจะมีห้าตัว
รวมทั้งสิ้น 1 + 2 + 2 + 2 + 2 +2 + 5 = 16 ตัว
(มีเกร็ดเล็กๆน้อยว่า ฝั่งแดงจะหมายถึงฮ่องเต้
ฝั่งดำจะเปรียบเหมือนท่านผู้นำของฝั่งตรงข้าม อารมณ์ประมาณต้าส่วย ยอดขุนโจร
อะไรประมาณนั้น)
วิธีเล่น
หากเล่น 4 คน ต้องเลือกเล่นว่าจะเล่นแบบใด ซึ่งมีสองแบบ
1) เล่นโดยมุ่งเน้นที่จะให้ได้จำนวนกองมากที่สุด
2) เล่นโดยมุ่งเน้นที่จะให้ได้จำนวนตามที่ประกาศไว้ก่อนเริ่มเกม
ในกรณีที่เล่น 2 หรือ 3 คน จะเล่นได้แค่แบบแรก
คือมุ่งเน้นให้ได้จำนวนกองมากที่สุด
อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเล่นมุ่งเน้นแบบไหน
(ซึ่งต่างก็สนุกและมีเสน่ห์เฉพาะตัวทั้งนั้น) ก็ต้องเข้าใจ Basic พื้นฐานของการเรียกและการตัดสินผลแพ้ชนะในรูปแบบต่างๆดังต่อไปนี้
1. เลี๊ยบ (หรือพูดง่ายคือ
“ตัวเดียว”)
เมื่อผู้มีสิทธิ์เรียกในตา (Turn) นั้น เรียก
เลี๊ยบ ก็หมายความว่า เค้าต้องการ เรียกให้แต่ละคนในวง ออกตัวในมือเพียงแค่
ตัวเดียว (อารมณ์จะประมาณส่งตัวแทนมาเข้าประกวดแค่หนึ่งตัวในมือ)
ซึ่งหลังจากทุกคนออกพร้อมแล้ว ผู้เรียกจะเปิดให้ดูว่า ลงตัวอะไรลงมา หากตัวที่ผู้เล่นที่อยู่ถัดไป
(ปกติจะวนตามเข็มนาฬิกา แต่ก็ไม่ได้บังคับ แล้วแต่ตกลงกันมากกว่าว่าจะวนทางไหน)
มีศักดิ์ใหญ่กว่าตัวที่ผู้เล่นคนแรกเปิดออกมา ผู้เล่นคนที่สองก็จะหงายออกมาโชว์
(เพื่อแสดงว่า ตอนนี้หมากข้าใหญ่กว่าคนที่หนึ่ง หากพวกที่เหลือ
ไม่ใหญ่กว่าหมากของข้านี้ พวกเอ็งจะโดนกินหมด)
ในกรณีที่หมากของคนที่สองไม่ใหญ่กว่าคนแรกก็อยู่เฉยๆ
และปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนถัดๆไปว่าจะเปิดหงายโชว์หรือไม่
หากไม่มีการเปิดจากผู้เล่นคนถัดไปเพิ่มเติม
ก็จะหมายถึงผู้เล่นที่ลงตัวที่ใหญ่ที่สุดในรอบนั้นจะเก็บตัวทั้งหมดไปอยู่ข้างหน้าตัวเอง
(ในกรณีนี้จะเก็บไปสี่ตัวรวมของตัวเองด้วย ปกติผู้ที่รวบกองไปเก็บ
มักจะตั้งตัวหมากเป็นกองๆ ตั้งละสี่ตัว โดยเอาตัวที่ใหญ่ที่กินมาวางทับอยู่ข้างบนสุด)
หลังจากนั้นคนที่กินกองนั้นจะได้สิทธิ์ในการเรียกตาถัดไป
ซึ่งจะเรียกอะไรก็ได้ตามแต่ที่เม็ดหมากที่ถือในมือจะอำนวย
วิธีเปรียบเทียบหมากให้ตัดสินตามหลักเกณฑ์ตามลำดับ
ดังต่อไปนี้
1. ฐานันดรใหญ่กว่าจะชนะฐานันดรเล็กกว่า
หรือก็คือ ตี่ > บิน (สือ) > ช้าง(เฉียว) > เรือ (กือ) > ม้า (เบ๊) > เผ่า > จุก
2. ในกรณีที่ฐานันดรเท่ากัน
ให้ดูสี สีแดงจะชนะสีดำ
เช่น บินแดง จะ ชนะบินดำ ม้าแดงชนะม้าดำ
3. ในกรณีที่ฐานันดรเท่า
สีก็เหมือนกัน ให้ดูว่าใครเปิดหงายขึ้นมาก่อนคนนั้นชนะ
2. ตุ่ย (หรือพูดง่ายคือ
“คู่”)
เมื่อผู้มีสิทธิ์เรียกในตา (Turn) นั้น เรียก
ตุ่ย ก็หมายความว่า เค้าต้องการ เรียกให้แต่ละคนในวง ส่งคู่เข้ามาประกวด
โดยคู่เหล่านี้จะต้องมีลักษณะเหมือนกันทุกประการคือทั้งศักดิ์และสี
จากจำนวนเม็ดหมากที่มีอยู่ เนื่องจากตี่มีแค่สีละตัวจึงสร้างคู่ไม่ได้
ดังนั้นคู่ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ (เครื่อง)บินแดง
สรุปความใหญ่:
คู่บินแดง > คู่บินดำ > คู่ช้างแดง > คู่ช้างดำ > คู่เรือแดง > คู่เรือดำ > คู่ม้าแดง > คู่ม้าดำ > คู่เผ่าแดง >คู่เผ่าดำ > คู่จุกแดง > คู่จุกดำ
ซึ่งตอนที่เปิดยังคงหลักการเดียวกับประเภทเลี๊ยบ
กล่าวคือ คนเรียกจะเป็นคนเปิดก่อน หากคนถัดๆไปใหญ่กว่าจึงจะเปิดมาแสดงว่าจะกิน
กรณีเพิ่มเติมสำหรับการเรียกตุ่ย
·
หากคู่ที่เปิด ใหญ่เท่ากัน
(ซึ่งจะมีได้แค่สองกรณี คือเป็นคู่จุกแดง มาชนกับคู่จุกแดง หรือ คู่จุกดำมาชนกับคู่จุกดำ)
ให้ถือว่าคนที่ได้สิทธิ์เปิดก่อนจะได้สิทธิ์เป็นผู้ชนะ
·
หากไม่มีคู่ สามารถจะลงสองตัวไหนลงมาก็ได้
แต่จะมีสิทธิ์กิน (หรือชนะ) ไม่ว่าจะลงตัวตี่ หรือตัวที่มีศักดิ์สูงก็ตาม
(พูดง่ายๆ หากเรียกตุ่ย ต้องคนมีตุ่ยเท่านั้น ถึงชนะรอบนั้นๆได้
3. การสร้างชุด
เลี๊ยบตุ่ย
มีเสน่ห์ตรงนี้แหล่ะคือมันมีการสร้างชุดได้ การสร้างชุดจะสามารถสร้างได้ตั้งแต่
3 ตัวขึ้นไป (มีตั้งแต่ 3 ตัว
จนถึงสูงสุด 6 ตัว) โดยจะแบ่งสองประเภทหลักๆคือ ประเภทเรียง กับ
ประเภทเหมือน
3.1 ประเภทเรียง
เราสามารถจะสร้างชุดเรียงได้ในรูปแบบดังต่อไปนี้
(1) สามตัวเรียง (ซาฮู้)
เมื่อพูดถึงสามตัวเรียง ความหมายก็ค่อนข้างตรงตัว
คือเอาตัวสามตัวมาเรียงกันเป็นชุด
โดยต้องเป็นสามตัวที่มีฐานันดรติดกันมารวมกลุ่มกัน
อย่างไรก็ตามการรวมกลุ่มไม่ใช่จะเอาตัวที่ติดกันมารวมกันยังไงก็ได้จะต้อง
เป็นชุดดังต่อไปนี้เท่านั้น
ชุดใหญ่ ตี่
+ บิน + ช้าง ชุดเล็ก เรือ
+ ม้า
+ เผ่า
(โดยรวมจะมีทั้งสิ้น
4 ชุดคือ
ชุดใหญ่สีแดง ชุดใหญ่สีดำ ชุดเล็กแดง ชุดเล็กดำ)
การเรียกก็เพียงแต่เรียก “ซาฮู้” (ไม่จำเป็นต้องบอกว่าซาฮู้
เล็กหรือใหญ่) หาเปิดออกมา ซาฮู้ใหญ่ จะชนะ ซาฮู้เล็ก
และหากชุดใหญ่หรือเล็กเหมือนกัน ซาฮู้แดงจะชนะซาฮู้ดำ
หากเป็นชุดเหมือนกันทุกประการเช่น ซาฮู้แดงเล็ก ทั้งคนเรียกและคนที่อยู่ในวง
ก็ต้องถือว่าคนเปิดก่อนได้ไป (ในกรณีคือผู้เรียก) ลองมาดูซาฮู้ในรูปแบบต่างๆด้านล่าง
(2) สี่ตัวเรียง
(สี่ฮู้)
ต้องเริ่มตั้งต้นด้วย ซาฮู้เหมือนข้างต้น
แต่หากมีตัวที่เหมือนกับหนึ่งในสามตัวที่มีสามารถจะมาเข้ารวมกลุ่มได้
การเรียกก็เรียก “สี่ฮู้” โดยไม่ต้องบอกว่าชุดใหญ่ชุดเล็ก การตัดสินในกรณีที่มีสี่ฮู้ออกมาชนกัน
จะดูว่าว่าคู่ไหนในสี่ฮู้ใหญ่กว่ากัน
ยกตัวอย่างอีกฝ่ายหนึ่งมีสี่ฮู้คู่ช้างแดง อีกคนมีสี่ฮู้คู่บินดำ
เนื่องจากคู่บินดำชนะคู่ช้างแดง ดังนั้นสี่ฮู้คู่บินดำจะชนะ
(ซึ่งจะต่างจากการเรียกซาฮู้ หากซาฮู้แดงใหญ่เจอดำใหญ่ สีแดงจะชนะ)
สี่ฮู้ในรูปแบบต่างๆด้านล่าง
(3) ห้าตัวเรียง (ห้าฮู้, โหงวฮู้)
หลักการของห้าฮู้ก็จะเหมือนกับสี่ฮู้ คือมีแกนหลักของ ซาฮู้ก่อน
แล้วค่อยเติมตัวที่เป็นคู่เข้ามาอีกสองตัว
การตัดสินก็จะเหมือนสี่ฮู้คือดูว่าคู่ไหนใหญ่กว่ากัน
(4) หกตัวเรียง
(หกฮู้, หลักฮู้)
หกฮู้จะเป็นได้ก็คือมีกรณีเดียว คือ มี คู่เรือคู่ม้าคู่เผ่า พร้อมกัน
3.2 ประเภทเหมือน
เนื่องจากจุกเป็นฐานันดรเดียวที่มีตัวถึงห้าตัว
จึงสามารถจะสร้างรูปแบบ
สามตัวเหมือน สี่ตัวเหมือน ห้าตัวเหมือนได้ (เรียกสั้นๆว่า ซาจุก
สี่จุก หรือ ห้าจุก ตามลำดับ)
การเอาชนะ หากมีผู้เรียกสามตัวเหมือน จะมีการเอาชนะกันแค่กรณีเดียวคือ
สามตัวเหมือนสีแดง ชนะ สามตัวเหมือนดำ
ในส่วนขอบสามตัวเรียง
ไม่ว่าจะใหญ่แค่ไหนไม่สามารถลงมาเอาชนะสามตัวเหมือนได้เพราะอยู่คนละประเภทกัน
แน่นอนในขณะเดียวกันหากผู้มีสิทธิ์เรียก
เรียกสามตัวเรียง (หรือ ซาฮู้) ก็ไม่สามารถจะนำสามตัวเหมือน (หรือซาจุก)
ลงไปเอาชนะได้
วิธีเล่นและนับคะแนน
ในกรณีที่เล่นแบบมุ่งเน้นให้ได้จำนวนมากที่สุด
เล่น 4 คน
1) เริ่มต้นจากการคว่ำหน้าตัวเลี๊ยบตุ่ยทั้งสามสิบสองตัว
คละเคล้าให้ทั่วเพื่อป้องกันการเล่นตุกติก ตั้งเป็นกองๆกองละ 4 ตัว
จะได้ทั้งสิ้น 8 กอง
2) คนในวงออกนิ้วพร้อมกัน
นับจำนวนที่ออกว่าได้เท่าไหร่ เช่น หากนับรวมได้ 6 ก็ให้ตัดแยกหกตัวออกไปไว้ข้างหลัง
(ประมาณเหมือนตัดไพ่) แล้วให้คนแรกเริ่มหยิบเป็นคู่ เวียนไปคนที่สองสามสี่
วนไปเรื่อยๆ ซึ่งทุกคนจะค่อยๆได้ตัวหมากจนครบ 8 ตัว (ทั้งสี่คนควรนั่งไม่ติดกันจนเกินไป
เพื่อป้องกันการเห็นตัวหมากคนอื่นๆ)
3) กำหนดคนเริ่มเรียกคนแรก
(สำหรับเกมแรกเท่านั้น) โดยดูว่าใครมีตัวตี่แดง ซึ่งคือตัวที่ใหญ่ที่สุด
4) [อย่างไรก็ตาม หลังจากได้ตัวหมากครบ
8 ตัว ให้แต่คนตรวจสอบหมากทั้ง 8 ตัวของตัวเอง ว่าอย่างน้อยมีตัวหมากหนึ่งตัวที่มีฐานันดรสูงตั้งแต่ช้างแดงขึ้นไปหรือไม่
(คือ ช้างแดง บินดำ บินแดง ตี่ตำ ตี่แดง)
หากไม่มีสามารถเปิดตัวหมากในมือโชว์เพื่อนร่วมวง เพื่อขอ ‘โละ’ แล้วเริ่มเล่นใหม่ได้
(คือล้างไพ่ ตั้งหมาก นับนิ้วใหม่หมด) โดยคนที่เป็นคนโละจะได้สิทธิ์ในการเรียกคนแรกหลังจากแจกหมากเสร็จ
และคะแนนในรอบนั้นจะถูกคิด x2 เท่า
(หากแจกรอบนี้แล้วมีการโละอีกก็จะต้องตั้งใหม่ และคะแนนจะคิดเป็น x3 เท่า
อย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะไม่มีการโละ)
5)คนที่ได้สิทธิ์เรียก
ให้เรียกหน้าไพ่ได้ตามต้องการ (เช่น เลี๊ยบ ตุ่ย ซาฮู้ ซาจุก สี่ฮู้ สี่จุก ฯลฯ)
6) เมื่อคนมีสิทธิ์เรียก
บอกออกมาว่าจะเรียกอะไร ก็ให้นำตัวหมากออกมาวางไว้กองกลาง
(กรณีกลัวคนอื่นๆจำหลังไพ่ได้ ก็ให้กำหมากไว้แล้วยื่นมือออกมาก็ได้)
ส่วนคนอื่นๆก็ค่อยทยอยออกมา
โดยจำนวนตัวที่นำออกมาต้องสอดคล้องกับสิ่งที่คนมีสิทธิ์เรียก เรียกออกมา เช่น
หากคนมีสิทธิ์เรียกเลี๊ยบ คนอื่นๆก็ต้องออกหนึ่งตัว หากเรียกตุ่ย ก็ต้องออกสองตัว
(ไม่ว่าเราจะมีตุ่ย หรือไม่มี ก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ต้องส่งมาเข้าประกวดสองตัว)
หากเรียกซา (ก็ต้องส่งออกมาสามตัว) เป็นต้น
7) เมื่อออกมาครบ
คนแรกจะเปิดหมากที่ตัวเองเรียก หากคนที่สองชนะคนแรก
จะเปิดตัวหมากของตัวเองที่คว่ำอยู่หงายออกมากินคนแรก
ส่วนหากคนที่สามชนะคนที่สองก็จะเปิดออกมากินคนที่สองไปเรื่อยๆ
หากไม่กินก็จะปล่อยเฉยไว้ เมื่อรู้แล้วว่าใครกินในรอบนั้น
คนที่กินจะรวบหมากที่กินเข้าไป ตั้งเป็นกองๆ กองละสี่ตัวไว้ โดยให้ตัวที่กิน
อยู่ด้านบน คนกินในรอบนั้น ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปหงายตัวหมากที่ไม่ได้เปิดออกมา
เช่นสมมติว่า คนที่หนึ่งเรียกเลี๊ยบ บินแดง คนที่สองเปิดตี่แดงมากิน
คนที่สามและสี่ ก็ไม่ได้เปิดอะไร (ก็ใครจะชนะตี่แดงได้ล่ะ)
คนที่สองก็จะรวบกินโดยตั้งกองสี่ตัว ให้ตี่แดงอยู่ด้านบน แต่ไม่มีสิทธิ์จะไปหงายขอดูตัวหมากของคนที่สามและสี่
8) เล่นจนครบ
จนตัวหมากหมดมือ (ซึ่งจะหมดพร้อมกันทั้งสี่คน)
คนที่ได้กินรอบสุดท้ายจะได้สิทธิ์ในการเรียกครั้งถัดไป (หลังจากเล่นจนหมดมือก็ถือว่าจะจบรอบการเล่นรอบใหญ่หนึ่งรอบ
ก็จะเริ่มล้างคว่ำหมาก ล้างไพ่ ตั้งตัวหมากใหม่อีกรอบ) หลังจากตั้งกอง ออกนิ้ว
คนที่กินรอบสุดท้ายก็จะได้เป็นคนเรียกก่อน)
9) หลังจากจบรอบใหญ่แต่ละรอบจะมีการจดคะแนน
(จะมอบหมายให้ใครจดก็ได้) โดยหลักคิดคือ แต่ละคนได้หมากเริ่มต้นไปคนละสองกอง คือ 8 ตัว
หากตอนจบรอบใหญ่ เล่นจนกินกลับมาได้ 8 ตัวเหมือนเดิมก็จะถือว่าเท่าทุน
ก็จะได้ 0 แต้ม หากได้กลับมา 3 กอง (หรือ 12 ตัว) ก็จะได้ +1 หากได้แค่กองเดียว
(4 ตัว) จะได้ -1 คะแนน
หากไม่ได้เลย ก็คือ -2
จำนวนกอง
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
คะแนน
|
-2
|
-1
|
0
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
16
|
จะสังเกตว่าหากครบ 8 กองจะได้แต้มพิเศษ
คูณสอง เรียกว่าช้วน
การได้ช้วน มีสองรูปแบบคือ
1) กินตรงๆ
ด้วยตัวใหญ่ที่สุด ในทุกกองที่ได้
2) กินไปแล้วครบ 7 กอง
และตัวสุดท้ายที่ถือคือ ‘จุก’
ซึ่งคือตัวที่ต่ำสุด อย่างนี้ก็สามารถจะเปิดโชว์และกินได้เป็นกรณีพิเศษ
(เพราะถือว่ากว่าจะกินได้ 7 กองก็ยากพออยู่แล้ว)
แต่หากตัวสุดท้ายไม่ใช่จุก เช่น เป็น เผ่า ม้า เรือ ฯลฯ
ก็จะใช้สิทธิ์เปิดโชว์ตัวสุดท้ายไม่ได้
10)
การนับคะแนนจะนับไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีผู้ชนะซึ่งแล้วแต่ตกลงกัน
เช่นถึง 100 ชนะ หรือเล่น 20 รอบแล้วดูว่าใครแต้มสูงสุด
เป็นต้น
เล่น
3 คน
การตั้งหมาก
แจกหมาก การเรียกจะเหมือนการเล่น 4 คน
เพียงแต่เนื่องจากเล่นสามคน เพื่อให้ลงตัว จะมีการออกนิ้วสองครั้ง
รอบแรกจะเป็นการออกนิ้วเพื่อดึงหมากออกไปเก็บข้างนอก 2 ตัว
เพื่อให้เหลือ 30 ตัว
การออกนิ้วรอบที่สองจะเป็นการตัดหมากและแจกให้กับแต่ละคน ในการเล่นสามคน
แต่ละคนจะได้เม็ดหมากคนละ 10 ตัว
เล่น
2 คน
(ดวลกันตัวต่อตัว)
กติกาการเล่นจะเหมือนกับเล่น
4 คน แต่ว่าหลังจากตั้งกอง ออกนิ้วเพื่อตัดหมากแล้ว
แต่ละผู้เล่นจะสลับกันหยิบคนละสองตัว จนครบแปดตัว หากไม่มีการโละเกิดขึ้น
คนที่มีศักดิ์หมากใหญ่ที่สุดจะได้เป็นคนเริ่มก่อน
ซึ่งคนที่เรียกจะเรียกอะไรก็ได้ตามต้องการ
หลังจากเรียกและหาผู้ชนะในแต่ละการเรียกแล้ว
คนที่ชนะในรอบการเรียกนั้นจะได้หยิบตัวกองกลางมาเติมจนจำนวนหมากในมือมีครบ 8 ตัวเหมือนเดิม
สมมติว่าคนเรียกเรียกตุ่ย ทั้งคู่ก็ออกมาสองตัว คนแรกเปิด ตุ่ยม้าดำ คนที่สองออกตุ่ยบินแดง
รอบนี้คนที่สองจะชนะ
ก็จะได้สิทธิ์หยิบตัวจากกองกลางมาเติมเข้ามือของตัวเองสองตัวก่อน และ
คนที่หนึ่งก็จะหยิบสองตัวถัดไปมาเติมเข้ามือ
ในกรณีนี้คนที่สองก็จะได้สิทธิ์ในเรียกถัดไป ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆจนกว่าจะหมดตัว
หากกองกลางหมดก็ต้องเล่นที่อยู่ในมือจนหมดมือ
คนที่ได้กินรอบสุดท้ายจะได้เป็นคนเรียกในรอบแรกหลังการตั้งกองใหม่
กรณีดวลกัน
เพื่อง่ายจะนับเป็นจำนวนตัวที่ได้ เช่น เมื่อจนจบรอบคนที่หนึ่งอาจได้ 20 ตัว
คนที่สองจะได้ 12 ตัว ก็จดแต้มดังกล่าวลงไป
เล่นไปหลายๆรอบเข้าจนกว่าจะมีคนได้ 100 แต้มเป็นต้น
(แล้วแต่ตกลง) แน่นอนว่าหากมีการโละ แต้มต้องมีการ x2 หรือ x3 … (แล้วแต่ว่าโละกี่รอบ)
ส่วนหากมีการกินได้ทุกตัว หรือ ช้วน ก็ต้องคูณสอง พูดง่ายๆแต้มก็จะเป็น 64 ต่อ 0 ในรอบนั้นๆ
ในกรณีที่เล่นแบบมุ่งเน้นจะให้ได้จำนวนตามที่ประกาศไว้ก่อนเริ่มเกม
กติกาทุกอย่างยังเหมือนเล่นแบบให้ได้จำนวนกองเยอะๆ
แต่จะแตกต่างในช่วงเริ่มต้นกล่าวคือ
หลังจากที่ทุกคนได้หมากครบ
และรู้แล้วว่าใครจะได้เริ่มเรียกก่อน (อาจเป็นคนมีตี่แดง หรือ
คนที่เพิ่งโละมาจากตาก่อนก็แล้วแต่)
แต่ละคนจะประเมินว่าจบรอบการเรียกทั้งหมดแล้วตัวเราจะได้กี่กอง เช่น 1 กอง (4
ตัว) ซึ่งสามารถจะบอกได้ตั้งแต่ 0 กอง ไปจนถึง 8 กอง โดยเริ่มจากคนที่มีสิทธิ์เรียกคนแรก
วนไปเรื่อยๆ ที่จะสนุกคือคนสุดท้าย ซึ่งในกรณีนี้จะถูกเรียกว่า ‘ขาถูกบังคับ’ จะไม่สามารถเรียกจำนวนกองที่ทำให้ผลรวมของทั้งสี่คนเท่ากับแปดพอดี
เช่นสมมติคนที่หนึ่งเรียก 2
กอง คนที่สองเรียก 3 กอง คนที่สามเรียก 2 กอง คนสุดท้ายที่ถูกบังคับจะไม่สามารถเรียก 1 กองได้ เพราะว่า 2+3+2+1 = 8 ดังนั้นคนสุดท้ายต้องเรียกน้อยกว่าหรือมากกว่าหนึ่ง
[หมายเหตุ: หากผลรวมของการประเมินกองของทั้งสี่คน
มีค่ามากกว่า 8 จะเรียกว่าเป็น ‘เกมแย่ง’ แต่ถ้าน้อยกว่า 8 จะเป็น ‘เกมหลบ’ หรือ ‘เกมยัด’
กล่าวคือในเกมแย่งทุกคนจะต้องพยายามแย่งกินเพื่อให้เข้าเป้าตามที่ตัวเองประเมินหมากของตัวเองไว้
ส่วนเกมยัดทุกคนต้องพยายามหลบให้ดีมิฉะนั้นอาจจะเกินกว่าที่ประเมินไว้]
การนับแต้ม
ก็ไม่ซับซ้อน หากได้ตามที่ประเมินไว้
ให้นับคะแนนจากเลขที่ตัวเองประเมินไว้บวกกับคะแนนพิเศษ 5 คะแนน (แต่หากประเมินตัวเองไว้ 0 กอง แล้วเข้าเป้าจะได้คะแนนพิเศษเพียง 3 คะแนน
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพื่อกระตุ้นให้มีการเรียกกอง)
ในกรณีที่ไม่เข้าเป้าก็จะต้องติดลบตามผลต่างของที่ได้จริงกับที่ตั้งเป้าไว้ตอนแรก
เช่น ตั้งเป้าว่า 2 กอง
แต่กลับได้มา 4 กองอย่างนี้ก็จะ
-2 คะแนน
สะสมแต้มไปเรื่อยๆจนกว่าจะมีคนถึงคะแนนที่กำหนดไว้
(ในกรณีมีการโละ ค่าคะแนนจะถูกคูณตามจำนวนเท่า เช่นหากโละหนึ่งครั้งก็คูณสอง
โละสองครั้งก็คูณสาม ไปเรื่อยๆ)
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)